💥 งานประจำปีทุ่งศรีเมืองและงานกาชาดจังหวัดอุดรธานี วันที่ 1 - 12 ธันวาคม 2564
ขอเชิญเที่ยวงาน ทุ่งศรีเมือง วิถีใหม่ (New Normal) จังหวัดอุดรธานี ระหว่างวันที่ 1-12 ธันวาคมนี้ สืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น โดยไม่เก็บค่าผ่านประตูให้ประชาชนเที่ยวชมฟรีตลอดงาน เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เที่ยวชมงานอย่างทั่วถึง ภายใต้มาตรการคุมเข้มโควิด-19 พร้อมงดกิจกรรมเสี่ยงแพร่ระบาดทุกชนิด
พิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์ เปิดงานทุ่งศรีเมือง
ขบวนแห่บายศรี วัฒนธรรมดีศรีอุดร
ขบวนแห่บายศรี วัฒนธรรมดีศรีอุดร
ขบวนแห่บายศรี วัฒนธรรมดีศรีอุดร
จังหวัดอุดรธานี เป็นจังหวัดที่มีขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมที่ดีงาม มาเป็นระยะเวลานาน ตั้งแต่ตั้งเมืองอุดรธานี เมื่อ ร.ศ.112 หรือ เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2436 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาชาวอุดรธานี ได้ดำรงชีวิตกันอย่างสงบสุขแต่ยังไม่มีกิจกรรมที่เป็นเอกลักษณ์และกระทำร่วมกันจนกระทั่งปี พ.ศ.2502 สมัยนายจินต์ รักการดี เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ได้ร่วมกับชาวจังหวัดอุดรธานี ริเริ่มจัดงานบวงสรวง สักการะบูชา และนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่ปกป้องคุ้มครองให้พี่น้องชาวจังหวัดอุดรธานี มีความร่มเย็นเป็นสุข พร้อมเฉลิมฉลองงานบวงสรวงเป็นเวลา 10 วัน 10 คืน ระหว่างวันที่ 1-10 ธันวาคม โดยใช้ชื่อว่า “งานทุ่งศรีเมือง” เพราะจัดขึ้นที่ทุ่งศรีเมืองอุดรธานี นับตั้งแต่นั้นมา ก็ได้มีการจัดงานติดต่อกันโดยตลอด ซึ่งปีต่อๆ มาได้ขยายการจัดงานเป็น 12 วัน 12 คืน คือระหว่างวันที่ 1-12 ธันวาคม โดย 2 วันสุดท้ายจะนำเงินรายได้ไปช่วยกิจกรรมสาธารณะเฉพาะสำหรับในปีนั้น ๆ
ผ้าไหมหมี่ขิด หมู่บ้านนาข่า จ.อุดรธานี
สินต้า OTOP - ผ้าไหมหมี่ขิด หมู่บ้านนาข่า จ.อุดรธานี
โดยในแต่ละปีมีการตั้งชื่องานไปตามวัตถุประสงค์ของงานนั้นๆและเน้นส่งเสริมผลิตภัณฑ์เด่นๆของจังหวัด โดยเฉพาะ ผ้าหมี่ -ขิด ซึ่งเป็น ผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นเมือง ของอุดรธานีที่ลือชื่อพร้อมจัดให้มีการประกวด
ธิดาผ้าหมี่-ขิด เป็นประจำทุกปีด้วยเช่นเดียวกัน
งานประจำปีทุ่งศรีเมือง มหกรรมโฮมพาแลง แดนผ้าหมี่ขิด จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-12 ธันวาคมของทุกปี
ที่สนามทุ่งศรีเมืองอุดรธานีในงานมีการออกร้านนิทรรศการของแต่ละหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนมีจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองหัตถกรรมและมีการแสดงรื่นเริงมากมายและที่สวนสาธารณะหนองประจักษ์ศิลปาคมมีการจัดงานพาแลงอันยิ่งใหญ่
มหกรรมโฮมพาแลงแดนผ้าหมี่ขิด ขึ้นคำว่า‘โฮมพาแลง’เป็นภาษาถิ่นอีสาน‘โฮม’หมายถึงรวม ‘พา’หมายถึงถาดหรือสำรับใส่กับข้าวและ ‘แลง’ หมายถึงเวลาเย็นดังนั้น ‘โฮมพาแลง’ จึงหมายถึงการรับประทานอาหารเย็นร่วมกัน ซึ่งเดิมเป็นเพียงงานเล็กๆ ที่จัดขึ้นเพื่อ เซ่นสรวงบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมือง เมื่อถึงช่วงเย็นแต่ละครอบครัวก็จะมีการ รับประทานอาหาร ร่วมกันมีการบรรเลงเพลง พื้นบ้าน ร่วมกันฟ้อนรำถือเป็นการผ่อนคลายหลังทำงานกันมาตลอดปีปัจจุบันนอกจากจะเป็นการรับประทานอาหารร่วมกันแล้วยังเป็นโอกาสให้ได้พบปะพูดคุย และชมการแสดงร่วมกัน ถือเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงามและปฏิบัติกันมา
ช้านาน
ในการจัดแสดงในขบวนแห่และการละเล่นพื้นบ้านของชาวอีสาน โดยจัดแสดงให้แก่ผู้มาเที่ยวงานและท่องเที่ยวจังหวัดอุดรธานีเข้าชมฟรี เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์และแสดงภูมิปัญญาท้องถิ่นแก่ประชาชนทั่วไป เพื่อสร้างความตระหนักและความภาคภูมิใจให้แก่ประชาชนในพื้นที่ได้ร่วมกันอนุรักษ์และสืบสานประเพณี การบายศรีสู่ขวัญและการส่งเสริมอนุรักษ์และต่อยอดการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นเมือง
ซึ่งเป็นมรดกทางภูมิปัญญาที่ล้ำค่าของประชาชนในจังหวัดและในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อให้ส่วนราชการ หน่วยงาน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรต่าง ๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมและให้บริการกับประชาชนที่เข้ามาเที่ยวงานได้รับรู้ภารกิจของแต่ละหน่วยงาน และเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้พักผ่อนหย่อนใจ ซื้อสินค้าราคาถูก ภายในงานตลอด 12 วัน 12 คืน จะมีกิจกรรมและการแสดงที่น่าสนใจจำนวนมาก
กิจกรรมที่สำคัญในงาน
- พิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พิธีสงฆ์
- การแสดงและการละเล่นมังกรทอง ขบวนแห่สิงโต
- ขบวนแห่โล้วโก๊ะ ของศาลเจ้าปู่-บ่า
- การประกวดธิดาผ้าหมี่ - ขิด
- การออกร้านขายสินค้าพื้นเมือง สินค้าอุปโภค บริโภคราคาถูกมากมาย
- การจำหน่ายสินค้า OTOP
- การแสดงผลงานของส่วนราชการ
- การแสดงนิทรรศการงานกาชาด
ขบวนแห่ง สิงโต มังกร ศาลเจ้าปู่ย่าอุดร งานประจำปีทุ่งศรีเมือง
💢 สำหรับในปีนี้กิจกรรมต่างๆ ภายในงาน จะมีการปรับงดกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เช่น ร้านมัจฉากาชาด, คอนเสิร์ต, มวย, ขบวนแห่วัฒนธรรม, เครื่องเล่นต่างๆ เช่น รถบั๊ม, รถไต่ถัง ชิงช้าสวรรค์, ส่วนขบวนแห่ศาลเจ้าปู่ย่า ให้มีการปรับลดจำนวนคน ไม่มีการหยุดแสดง โดยให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด
ติดต่อสอบถาม : ททท.สำนักงานอุดรธานี
เบอร์โทร : 0 4232 5406-7
การเดินทางไปจังหวัดอุดรธานี
โดยรถยนต์
- จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงสระบุรี บริเวณกิโลเมตรที่ 107 แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านนครราชสีมา ขอนแก่น ถึงอุดรธานี รวมระยะทางประมาณ 564 กิโลเมตร
โดยรถประจำทาง
- มีบริการรถโดยสารทั้งรถธรรมดา และรถปรับอากาศวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-อุดรธานีทุกวัน รถออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร (หมอชิต 2) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัทขนส่งจำกัดโทร.02-936-2858-60 และที่สถานีขนส่งอุดรธานี โทร.(042)207904–5 (042) 295-409 – 14 www.transport.co.th
โดยรถไฟ
- การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดบริการรถไฟวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-อุดรธานี ทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690 โทรศัพท์: 02 220 4272 www.railway.co.th
โดยเครื่องบิน
- บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีเที่ยวบินระหว่าง กรุงเทพฯ-อุดรธานีทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 1566, 0 2280 0060, 0 2282 0080, 0 2628 2000 www.thaiairways.com นอกจากนั้นไทยแอร์ เอเชีย และนกแอร์ ยังมีเที่ยวบินไปอุดรธานีทุกวัน สอบถามรายละเอียดโทร. 0 2515 9999? www.airasia.com และ โทร. 1318 www.nokair.co
โรงแรมในจังหวัดอุดรธานี >
- เซ็นทารา โฮเทล แอนด์ คอนเวนชัน เซ็นเตอร์ อุดรธานี
- โรงแรม เดอ ปริ้นเซส อุดรธานี (De Princess Hotel Udonthani)
- เฮ้าส์ โฮเทล อุดรธานี (Haus Hotel Udonthani)
- โรงแรม ดิ เอท อุดรธานี (The 8 Hotel Udonthani)
- โรงแรม ฮ็อป อินน์ อุดรธานี (Hop Inn Udon Thani)
- เคลย์ อุดรธานี (Clay Udonthani)
- เวลา ดี อุดรธานี (VELA Dhi Udon Thani)
- กู๊ดโฮม @ อุดรธานี (Goodhome@Udonthani)
- เอเชีย แบ็คแพ็คเกอร์ อุดรธานี (Asia Backpackers Udonthani)
- ดิโอโซน บูธิค โฮเท็ล อุดรธานี (The Ozone Boutique Hotel)
- กู๊ดโฮม อุดรธานี (Good Home Resort)
👍 ขอขอบคุณภาพและข้อมูลประกอบ :
- เว็บไซต์ส่งเสริมการท่องเที่ยว และประชาสัมพันธ์ จังหวัดอุดรธานี
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานอุดรธานี
- ททท. - Tourism Authority of Thailand
- วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
- สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดอุดรธานี
- Facbook : สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดอุดรธานี
www.thailandfestival.org
FB Fanpage : Thailand Festival
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น